วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2555

เปรียบเทียบความแตกต่างค่า Page Rank ของ Web E - Business


    เว็บไซต์ที่มีค่า Page Rank สูง คือ nokia.com
         จากการสำรวจ มีค่า Page Rank อยู่ในระดับ 6 และค่า Index จำนวน 569,000 ครั้ง ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่มีความนิยมสูงจากการประเมิน
         ภาพแสดงค่า  Page Rank ของ http://www.nokia.com/th-th/



    เว็บไซต์ที่มีค่า Page Rank น้อย คือ creamjula.com
       จากการสำรวจของ Google มีค่า Page Rank อยู่ในระดับ 2 และค่า Index จำนวน 1,560 ครั้ง ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่มีความนิยมน้อยจากการประเมิน
      ภาพแสดงค่า Page Rank  ของ http://www.creamjula.com/ 



    การเปรียบมูลค่าความนิยมจากค่า Page Rank และค่าดัชนี Index ของทั้งสองเว็บไซต์นี่สามารถชี้ให้เห็นถึงคุณภาพและโอกาสความสำเร็จของเว็บไซต์ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ได้
    ซึ่งจากการสำรวจความแตกต่างของ 2 เว็บไซต์นี้ทำให้เปรียบเทียบเห็นอย่างได้ชัดเจนถึงความแตกต่างที่ส่งผลต่อค่า Page Rank และค่า Index ที่เป็นตัวชี้วัดคุณภาพของเว็บไซต์ ซึ่งสามารถพอสรุปสาเหตุได้ นั่นก็คือ การที่จะได้ค่าความนิยม Page Rank  สูง เว็บเพจจะต้องมีข้อมูลที่มากน่าสนใจต่อการค้นหาและการอัฟเดทข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ ส่วนค่า Index จะเป็นค่าจำนวนครั้งที่ Google นั้นเข้ามาสำรวจเก็บข้อมูลซึ่งแสดงถึงความทันสมัยของข้อมูลตลอดเวลาของเว็บไซต์นั่นก็คือ เว็บไซต์ของ NOKIA มักจะพบเห็นถูกฝากโฆษณาตามเว็บไซต์ต่างๆมากมาย ตลอดจนมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ของ NOKIA ให้กับลูกค้าได้ศึกษา ต่างจาก creamjula ที่ไม่ค่อยพบเห็นลิ้งบนเว็บไซต์อื่นเท่าไรตลอดจนข้อมูลมักเป็นรูปภาพและไม่ค่อมการอัฟเดทนัก จึงส่งผลต่อค่า Page Rang และค่า Index ได้
    


วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการรับฟังการบรรยายเรื่อง "Online Business with Google"


                การประยุกต์ระบบออนไลน์มาใช้กับภาคธุรกิจเพื่อเปิดช่องทางการติดต่อซื้อขายสินค้า ด้วยการนำZMOT มาใช้เป็นส่วนเสริมในกระบวนการซื้อขายสินค้า ให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเพื่อดูดความสนใจ ซึ่งผู้บริโภคส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการค้นหาข้อมูลสินค้าเอง ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะใช้ Google เป็นผู้ช่วยในการค้นหา ผู้ดำเนินธุรกิจต้องประยุกต์มาใช้ดิจิตอล 3.0 ที่สามารถค้นเจอบนหน้าของการค้นหาของ Google ได้ โดยที่เครื่องมือที่เข้ามาช่วยเหลือในการทำการตลาดออนไลน์จาก Google 
“Think with Google” เป็นหนึ่งในโครงการของ Google ที่จะนำเรื่องราวในแวดวงธุรกิจออนไลน์และเทรนด์ต่างๆ มาเผยแพร่ให้บุคคลภายนอกได้ศึกษากัน ไม่ว่าจะเป็นบทสัมภาษณ์ของผู้นำทางความคิด นำเสนอกรณีศึกษา หรือข้อมูลต่างๆ ที่น่าสนใจเพื่อประโยชน์แก่ผู้ประกอบการในการวางแผนธุรกิจจริงๆ วันนี้สิ่งที่จะเล่าไม่ได้เกี่ยวกับ Think with Google แต่เป็นหนึ่งในหัวข้อที่ ถูกนำมาเผยแพร่ในนี้มีชื่อว่า ZMOT หรือ Zero Moment of Truthคำนี้อาจไม่คุ้นหูในบ้านเราเสียเท่าไหร่นัก และหลายคนก็อาจสงสัยว่ามันคืออะไรกันแน่น ดังนั้นขอเล่านิยามความหมายของช่วงเวลาต่างๆ ออกมาตามประสบการณ์ของลูกค้าก่อน ดังต่อไปนี้
1.     Get your business online คือ การเข้ามามีตัวตนบนโลกออนไลน์ การสามารถค้นพบได้ด้วย Search Engine ซึ่งให้เราอยู่ในผลการค้นหาได้ โดยส่วนใหญ่จะใช้ Google ในการค้นหา ซึ่งการค้นพบเป็นลำดับแรกๆจะต้องอาศัยค่า Page rang คือข้อมูลและจากจำนวนการเข้าชม ซึ่งจะเป็นค่าสะสมไว้ในการค้นหา
2.     Be found – when customer is searching คือ การสามารถค้นพบได้จากการค้นหาเป็นลำดับแรกๆ ซึ่งอาจเป็นการค้นหาเจอได้โดยทั่วไปซึ่งจะต้องทำให้ค่า Page rang สูง หรือการค้นหาเจอโดยการซื้อตำแหน่งคำค้นหา หรือการโฆษณาโดยตัวค้นหาหรือ Google Adwords ซึ่งผู้ซื้อจะมีค่าใช้จ่ายทุกครั้งลูกค้าคลิกเข้าไป    
3.    Be reached – show where you are คือ การสามารถค้นหาเจอได้จากแผนที่อาจผ่านทาง Google maps เพื่อระบุตำแหน่งของห้างร้านคุณ    
4.     Get closer to your customers คือ การใกล้ชิดกับลูกค้ามากขึ้น โดยการผ่านทาง Google plus ทำให้เสนอข้อมูลและคุยกับลูกค้าได้ ซึ่งปัจจุบัน Google สร้างพื้นการสนทนาแบบ Rail Conversations คือการคุยผ่าน วีดีโอConference นั่นก็คือ Google plus Hangouts เป็นการเปิดพื้นที่ในการสนทนาหลายคนพร้อมกันเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือการนำเสนอสินค้าได้ ตลอดจนการเรียกเอกสารขึ้นมาดูหรือใบเสนอราคามาใช้ได้ อีกทั้งยังสามารถเผยแพร่ออกไปให้ผู้อื่นรับชมได้คล้ายถ่ายทอดให้รับชม
5.    Increase your performance คือ การสร้างรายงาน โดย Google narcotic เพื่อวัดการเข้าดูแบบทันทีทันใดในขณะนั้น การตรวจสอบรายละเอียดของผู้เข้าชมเพื่อวัดประสิทธิภาพของเว็บไซต์
6.    Engage your customer anywhere anytime คือ การค้นหาบนมือถือไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็สามารถเข้าถึงโฆษณาเราได้ ซึ่งต้องออกแบบให้เป็น Mobile site เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้
7.    Go Global (AEC) คือ การเข้าถึงได้ทั่วโลก คือ Google มีความสามารถในการช่วยในด้านภาษาก็สามารถช่วยในการแปลภาษาให้เข้าใจระหว่างกันได้ ทำให้ภาษไม่เป็นอุปสรรคในการสื่อสารด้วย Google translate

2.หาคำศัพท์ที่ได้จากการรับฟังพร้อมหาความหมายเพื่ออธิบายคำศัพท์ดังกล่าว อย่างน้อย 20 คำ

1. First Moment of Truth คือ เมื่อเข้าไปในสโตร์ แล้วสามารถเห็นสินค้าทันที
2. Second Moment of Truth คือ การที่เราใช้สินค้า แล้วรู้สึกว่าสินค้านี้ตอบโจทย์ ตอบความคาดหวังต่างๆ
3. SoLoMo เป็นกลยุทธ์หนึ่งของการตลาดที่วิเคราะห์ากพฤติกรรมของผู้บริโภครูปแบบใหม่ ย่อมาจาก Social Location และ Mobile
4. ZMOT หรือ Zero Moment of Truth คือการที่ลูกค้าทำความรู้จักกับตัวสินค้าก่อนหน้าที่จะไปถึงร้านค้าจริงอย่างการเริ่มค้นหาข้อมูลสินค้าที่ตัวเองสนใจ แรงผลักดันสำคัญที่ทำให้เกิด ZMOT คือการเติบโตของอินเทอร์เน็ตและเครื่องมือที่ใช้เชื่อมต่ออย่างสมาร์ทโฟน
5. Google friendly คือ นำเสนอหน้าเว็บแรกให้มีคุณภาพสูง หากหน้าเว็บของมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ต่อผู้ที่ต้องการศึกษาค้นคว้า จะช่วยดึงดูดผู้เข้าชมจำนวนมาก และดึงดูดเว็บมาสเตอร์เพื่อเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ของเรา
6. PageRank คืออัลกอริทึมที่ใช้การวิเคราะห์เว็บลิงก์ตามทฤษฎีเครือข่ายที่ใช้เป็นพื้นฐานในตัวเสิร์ชเอนจินของกูเกิล โดยเพจแรงก์จะแสดงเป็นค่าตัวเลขบ่งบอกถึงความความสำคัญของข้อมูลในกลุ่มของชุดข้อมูล ตัวเลขของเพจแรงก์ของกูเกิลในปัจจุบันจะมีค่าระหว่าง 0 ถึง 10
7. Natural Result ผลเสิร์ชโดยปกติ
8. malware (ย่อมาจาก "malicious software")ซึ่งจัดเป็นคำนามรวมหมายถึง ไวรัส หนอนอินเตอร์เน็ต
9. Google AdWords คือ โฆษณาในรูปแบบ pay per click 
10.  Page Rang คือ หน้าหลักของเว็บไซต์นั้นๆ ที่ใช้ในการติดต่อ
11.  Map คือ แผนที่
12. Success คือ ประสิทธิผล การประสบความสำเร็จ
13. Street view คือ มุมมองที่เสมือนจริง
14. segment คือ ส่วนประกอบ
15. Conversations คือ การสนทนา     
16. Increase คือ การเพิ่มขึ้น      
17. Performance คือ การปฏิบัติ      
18. Rail time คือ การทำงานแบบตอบสนองทันทีทันใด
19. Engagคือ การประกอบ      
20. mobile Site เปรียบเทียบกับการโฆษณาบน website ทั่วไปนั้น คือความไม่แออัด ของโฆษณา เนื่องจากปกติแล้วในแต่ละ mobile site จะมี banner โฆษณาเพียงหนึ่งชิ้นต่อหน้า แต่บนwebsite ทั่วไปมักจะมีหลายโฆษณา รูปแบบการโฆษณาผ่านมือถือ

วันเสาร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการรับฟังการบรรยายเรื่อง "การทำธุรกิจและการตลาดในยุคดิจิทัล 3.0"


Social media
Social Media แบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ
1. Owned media เป็นสื่อเว็บไซต์ที่เราเป็นเจ้าของเอง
2. Paid media สื่อที่เราต้องจ่ายเงินซื้อประเภท Branner, Sponser ship
3. Earned Media ลูกค้าเป็นเจ้าของ โดยมีการพูดถึงธุรกิจกับลูกค้าด้วยกัน
4. Social Media เจ้าของธุรกิจเป็นผู้ติดต่อกับลูกค้าโดยตรง เสนอข้อดีของธุรกิจให้กับผู้บริโภค
                การนำ Co-creation ไปใช้ประโยชน์ใน Social Media การให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการพัฒนาสินค้า การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ประกอบการโดยตรง ผ่านสื่อ Social ต่าง
โดยที่การตลาดยุดนี้นั้นผู้บริโภคนั้นผู้ที่สามารถกำหนดได้ว่าเค้าต้องการอะไรแล้วต้องการแบบไหนซึ่งการที่จะทำให้แบรนของตนเองให้ประสบความสำเร็จได้นั้นจะต้องทำให้แบรนของเราเป็นที่ต้องตาหน้าติดตามของผู้บริโภคเพราะการทำการตลาดสมัยนี้นั้นไม่ใช่เพียงแค่การขายเท่านั้นเราจำเป็นที่จะต้องศึกษาผู้บริโภคเพื่อทำสินค้าของมาตามความต้องการเพื่อเกิดการทดลองใช้และการพูดแบบปากต่อปากเพื่อให้เกิดการทอดลองและซื้อใช้ต่อๆโดยบอกกันแบบปากต่อปากนี้นั้นมักเกินขึ้นบน Social media ถ้ามีผู้บริโภคท่านหนึ่งทดลองใช้สินค้าแล้วนำไปรีวิวเพื่อกระข่าวต่อก็จะทำให้สินค้าตัวเป็นที่นิยมได้ไม่ยากทำให้สามารถทำการตลาดได้ดีขึ้นและควรมีพื้นในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้บริโภคเพื่อเป็นเก็บข้อมูลทางการตลาดได้อีกทางหนึ่ง

คำศัพท์ที่ได้จากการรับฟังพร้อมหาความหมาย เพื่ออธิบายคำศัพท์ดังกล่าว อย่างน้อย 20 คำ 
1. Social media คือการสร้างสังคมเข้าหาลูกค้า
2. EARNED Media คือสื่อที่ลูกค้า ผู้บริโภคทั่วไปเป็นเจ้าของ
3. Marketing tip คือ เคล็ดลับทางการตลาด
4. Awareness คือ การทำให้ผู้บริโภครู้จักสินค้า หรือบริการ                                                                 
5. OWNED Media คือสื่อสารที่เราสร้างขึ้นเอง
6. PAID Media คือ สื่อที่คนอื่นสร้างให้เรา ต้องมีค่าใช้จ่ายในการซื้อ
7. Publisher คือ การกระจายข่าวอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง
8. Commitment คือ การที่เราถูกใจหรือชอบสินค้านั้นแล้วเราก็บอกต่อให้กับผู้บริโภคคนอื่นต่อ 
9. Mindset คือ กระบวนการทางความคิด                                                                                                   
10. Involvement คือ การทำให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมกับธุรกิจ
11. Product Marketing คือ การวางแผนทางการตลาด                                                                                              
12. Referral Marketing คือการตลาดแบบแนะนำบอกต่อ                                                                                                                                               
13. Virus Marketing คือ การตลาดแบบไวรัส
14. Reviewer คือ การสะท้อนกลับถึงข้อมูลสินค้าและบริการ                                                                      
15. Path way คือ เส้นทางในการดำเนินงาน
16. Chang of Marketing การเปลี่ยนแปลงของตลาด                                                                                    
17. Share คือ การแบ่งปัน การบอกต่อ ข้อมูลของสินค้าหรือบริการ
18. Buzz Marketing คือ การตลาดแบบรังผึ้งแตก                                                                                            
19. Information คือ เป็นข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล และมีการจัดการให้มีความถูกต้อง ทันสมัย และสามารถนำไปใช้งานได้ตามที่ต้องการ
20. Concrete คือ การมีส่วนช่วยในการพัฒนา 

SO LO MO และ ZMOT





"SO LO MO" Social Media Location 
                 So ย่อมาจากคำว่า Social คือ สังคม แต่ไม่ใช่สังคมทั่วไปแต่มันเป็นสังคมออนไลน์ ซึ่งปัจจุบันที่โด่งดังคือ Facebook , Twitter ณ วันนี้ มีคนใช้งานทั่วโลกแล้วมากกว่า 2 พันล้าน
               Lo ย่อมาจากคำว่า Location แปลว่า สถานที่ สถานที่ในที่นี้หมายถึงอะไร หมายถึง Google Map ตอนนี้หลายเว็บไซต์ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าออนไลน์ บริษัท หรือแม้แต่เว็บไซต์ส่วนตัวได้มีการใช้งาน Application ที่ชื่อว่า Google Map เข้ามามีบทบาทในการตัดสินใจการเลือกซื้อสินค้าหรือทัวร์ต่าง ๆ เช่นการปักหมุดร้านค้า หรือ สถานที่ท่องเที่ยวของเจ้าของเว็บไซต์หรือทัวร์ต่าง ๆ
                Mo ย่อมาจากคำว่า Mobile ในที่นี้ไม่ใช่แค่โทรศัพท์มือถือธรรมดา แต่เป็น SmartPhone , iPhone , Tablet ต่าง ๆ ที่ได้ถูกพัฒนา Application บนมือถือเพื่อรองรับการเติบโตของตลาดออนไลน์ในอนาคต ถ้าสังเกตดีดี บนรถไฟฟ้าหรือตามสถานที่ต่าง ๆ จะมีคนใช้โทรศัพท์กันมากขึ้นแต่ไม่ใช่โทรศัพท์คุย แต่เป็นในลักษณะเลื่อนหน้าจอเพื่อค้นหาข้อมูล อัพเดทสถานะหรือแม้แต่พูดคุยกับเพื่อนออนไลน์
                เราจะเห็นได้ว่าอัตราการเติบโตบนโลกอินเทอร์เน็ตมีมากขึ้นทุกวัน ทั้งจำนวนผู้ใช้งานทั่วโลกและจำนวนผู้ที่เข้ามาใช้ Application   ต่าง ๆ ผู้บริโภคมีสิทธิ์ที่จะเลือกได้มากขึ้น เพราะผู้ประกอบการรวมถึงเจ้าของบริษัทห้างร้านต่าง ๆ จะต้องพยายามทำทุกวิธีทางเพื่อให้ผู้บริโภคได้เห็นหน้าเว็บไซต์ของตัวเองปรากฏอยู่ในมือของผู้บริโภคให้มากที่สุด และยิ่งมากเท่าไหร่โอกาสที่จะได้เขามาเป็นลูกค้าของเราก็มากขึ้นเท่านั้น

ZMOT
               ZMOT  ย่อมาจาก Zero Moment of Truth หมายถึง  เจ้าของหรือลูกค้าที่ทำความรู้จักหรือได้ลองใช้สินค้านั้นๆ แล้วนำสรรพคุณมาบอกหรือโพสต์ในเว็บไซต์เพื่อเป็นการโฆษณาให้ผู้ที่สนใจได้ลองเข้ามาดูสินค้านั้นๆ ก่อนที่จะตัดสินใจสั่งซื้อทางเว็บไซต์หรือไปที่ร้านค้าจริง แรงผลักดันสำคัญที่ทำให้เกิด ZMOT คือ การเติบโตของโลก Social Network และเครื่องมือที่ใช้เชื่อมต่ออย่าง SmartPhone ซึ่งจะมีการพัฒนาอยู่เสมอจึงต้องการแหล่งข้อมูลที่หาได้ง่ายและสะดวก



ให้นักศึกษาวิเคราะห์ประเด็นต่อไปนี้ แล้วแสดงความคิดเห็นและตอบคำถามจากประเด็นปัญหาต่อไปนี้


1. สาเหตุใดที่ทำให้ธุรกิจ E-commerce ในประเทศไทย ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร
       การทำ E-commerce นั้น คงไม่ใช่แค่เพียงการสร้างเว็บไซต์ขึ้นมา แล้วจะมีใครต่อใครที่ได้ต่ออินเทอร์เน็ตเข้าไปดูกันได้เท่านั้น เพราะหากว่าไปแล้ว เว็บไซต์ก็เหมือน ภาพพจน์ หนึ่งของบริษัท หากอยากทำเว็บไซต์ให้ประสบความสำเร็จ ควรคำนึงถึงอุปสรรคที่จะเป็นตัวแปรสำคัญว่าธุรกิจของบริษัทจะประสบความสำเร็จหรือไม่
        1.1 การนำเสนอข้อมูลบนเว็บไซต์ หลายเว็บไซต์ยังขาดทักษะเรื่องของภาษา การนำเสนอขายสินค้าบางครั้งแค่ใส่ขนาดกับราคาเพียงเท่านั้น ขาดรายละเอียดทั้งในเรื่องของวัสดุ การใช้งาน และข้อมูลต่างๆที่ ลูกค้าต้องการเพิ่ม ที่สำคัญ นโยบายรับคืนสินค้า หลายเว็บไซต์มักเกรงปัญหาของคืน จึงไม่ได้ใส่เงื่อนไขสำคัญนี้ในเว็บของตน หรือบางเว็บไซต์ก็ใส่ข้อมูลที่เยอะมากเกินไป กว่าลูกค้าจะคลิกเข้าไปซื้อของได้ก็เสียเวลาเปิดเข้าไปในแต่ละหน้านานมาก
       1.2 ขาดบุคคลากรที่มีความรู้ การนำเสนอข้อมูลที่ขาดรายละเอียดนั้น บางครั้งมีลูกค้าอีเมล์มาสอบถามเพิ่มเติม แต่บางเว็บไซต์ไม่ได้ตั้งบุคคลากรเพื่อดูแลปัญหานี้ หรือขาดความรู้ในการเข้าถึงเทคโนโลยีมีผู้ประกอบการหลายราย เปิดเว็บไซต์แล้ว ไม่ได้ตรวจอีเมล์ หรือตอบช้าเกินไป
       1.3 ขาดการวางแผนตลาดรองรับ การมีเว็บไซต์เป็นเสมือนการเปิดร้านแห่งหนึ่งขึ้นบนโลกไซเบอร์ ซึ่งวันหนึ่งๆ มีเว็บเกิดขึ้นเป็นหมื่น หากไม่มีการวางแผนประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายรู้จัก ก็ยากที่จะประสบความสำเร็จ หลายเว็บเกิดขึ้นมาแบบขาดการวางแผน เห็นธุรกิจอื่นมีเว็บกัน ก็แค่อยากมีกับเขาบ้าง
       1.4 ขาดการส่งเสริมอย่างจริงจัง มีหลายเว็บที่เปิดขึ้นมาแล้ว ขาดการดูแล ผู้ซื้อเข้ามากี่เดือนก็พบรูปแบบเหมือนเดิม ซ้ำโปรโมชั่นเก่าที่เอามาลดราคาก็หมดเขตไปตั้งแต่ปีที่แล้ว ทำให้เว็บขาดความเชื่อถือดังนั้น เมื่อเปิดเว็บแล้ว ต้องติดตาม ตรวจสอบสถิติ และพัฒนาเว็บไซต์ของตนให้ทันสมัยอยู่เสมอ
       1.5 หลงเทคโนโลยี การสร้างเว็บไซต์ บางครั้งผู้ประกอบการมักหลงใหลกับความงามของกราฟฟิก ใส่ภาพเคลื่อนไหว เสียงประกอบต่างๆ เข้าไป เพื่อหวังจะเรียกร้องความสนใจของผู้เข้าชม โดยลืมไปว่าสิ่งเหล่านี้ต้องทำให้ผู้ซื้อสินค้าเสียเวลาโหลดนานมากกว่าที่จะ ได้ดูสินค้าแต่ละหน้า
        1.6 ไม่กำหนดตลาด การที่อินเทอร์เน็ตสามารถเข้าถึงคนได้ทั่วโลก ทำให้ผู้ค้าบางรายหวังขายสินค้าไปทั่วโลก ทั้งที่ในโลกการค้า ลักษณะการใช้ภาษาก็ดี , รูปแบบ , ราคาของสินค้าก็ดี ล้วนมีความแตกต่างกันออกไป ดังนั้น เมื่อได้ข้อมูลความต้องการของลูกค้าที่ชัดเจนแล้ว ควรมุ่งเน้นไปยังตลาดกลุ่มเป้าหมาย ดีกว่าการทำตลาดแบบเหวี่ยงแห ซึ่งนอกจากเสียเวลาแล้ว ยังอาจเสียลูกค้าโดยไม่รู้ตัว เช่น หากจะขายเครื่องประดับราคาสูงแล้ว ก็ต้องไม่มีการขายตุ้มหู คู่ละ เหรียญอยู่ในเว็บ เป็นต้น
       1.7 การออกแบบ การออกแบบเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ควรออกแบบให้ผู้ใช้ เข้าใจได้ง่าย โดยไม่ต้องมีคู่มือประกอบ สามารถค้นหาสินค้าได้สะดวก และชำระเงินได้โดยง่าย บางเว็บไซต์ ผู้ซื้อต้องกรอกข้อมูลมากเกินความจำเป็น ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย และรู้สึกว่าใช้งานลำบาก
2. ถ้าอยากจะให้ระบบการขายสินค้าในรูปแบบ E-commerce ในประเทศไทยประสบความสำเร็จ น.ศ.คิดว่าควรจะต้องประกอบด้วยปัจจัยใดบ้าง
      2 .1 กล้าตัดสินใจ ประการแรกที่ต้องทำ คือ ค้นคว้าหาข้อมูล สร้างจินตนาการ กลั่นกรองความคิด หาช่องทางและโอกาสเมื่อมองเห็น จงกล้าตัดสินใจดำเนินการ เพราะธุรกิจนี้ใช้เงินน้อยมาก เมื่อเทียบกับการเปิดร้านขายสินค้าในห้างสรรพสินค้า หรือตึกแถวทั่วไป และที่สำคัญอย่างยิ่งคือ การขายสินค้าบนเว็บนี้ สามารถขายให้คนได้ทั่วโลกและมีอากาศทั้งค้าปลีก ค้าส่ง และค้าส่งออกเป็นล็อตใหญ่ ฉะนั้น เมื่อเห็นโอกาสจงอย่ารีรอเป็นอันขาด
     2.2 หน้าที่หลักของท่าน คือ การคิดเรื่องการตลาด เมื่อตัดสินใจแล้วหน้าที่หลักคือ การวางแผนการตลาด คือจะขายให้ใคร ความต้องการและพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมายนั้นเป็นอย่างไร จะวางตำแหน่งสินค้าอย่างไร จะต้องพัฒนาสินค้าอย่างไรเพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายเหล่านั้น จะตั้งราคาสินค้าเท่าใด จะขายผ่านช่องทางใด ตรงไปที่ผู้นำเข้า พ่อค้าส่ง พ่อค้าปลีกหรือผู้บริโภคโดยตรง และจะประชาสัมพันธ์เว็บ หรือมีรายการส่งเสริมการขายอย่างไร จึงจะเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย สิ่งเหล่านี้มีความสำคัญมากกว่าการมีเทคโนโลยีดี ๆ ด้วยซ้ำ
     2.3 โปรแกรมด้าน e-commerce มีความพร้อมให้ใช้งานอยู่แล้ว สำหรับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นั้น มีให้ใช้โดยทั่วไปอยู่แล้ว เช่น www.ecombot.com ซึ่งมีระบบครบถ้วนสมบูรณ์อยู่แล้ว ทั้งหน้าร้าน หรือออกแบบเว็บเพจให้มี ระบบออนไลน์แคตาล็อค ระบบตระกร้า หรือ shopping cart ระบบรับชำระเงินผ่านบัตรเครดิตแบบ real-time ระบบติดตามผลการขาย ระบบออกรายงานขาย ระบบลงทะเบียน search engines เป็นต้น ฉะนั้น หน้าที่ของท่านก็เพียงแต่นำเอาข้อมูลสินค้า ราคา รูปภาพที่เตรียมไว้แล้วป้อนเข้าสู่ระบบเท่านั้น ก็สามารถเปิดใช้งานได้ทันที
      2.4 ใช้งบประมาณลงทุนน้อย เงินลงทุนที่ใช้เพียงค่าสมาชิกอินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ โมเด็ม และค่าโปรแกรม e-commerce นอกจากนี้ยังมีการซื้อโปรแกรมระบบ e-commerce ในอัตราเดือนละไม่ถึง 500 บาท ก็เป็นอันเสร็จสิ้น แต่หากท่านไม่มีคอมพิวเตอร์ โมเด็ม และไม่ได้เป็นสมาชิกอินเทอร์เน็ต เลยก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ดังนี้ ค่าเครื่องคอมพิวเตอร์ประมาณ 25,000 บาท ค่าโมเด็ม ประมาณ 3,000 บาท และค่าสมาชิกอินเทอร์เน็ตประมาณเดือนละ 500 บาท หรือรวมเบ็ดเสร็จแล้วลงทุนทั้งหมดอยู่ในราว 30,000 บาท
     2.5 เร่งงานให้เสร็จตามกำหนด เวลาในการลงมือทำงานแล้ว สิ่งสำคัญต้องเร่งทำเดินงานให้เสร็จทันตามเวลา ไม่ควรเรื่องมาก หรือเขียนคิ้วทาปากให้กับเว็บ ทำการทดสอบสินค้าและราคาก่อน เพราะสาระสำคัญทางการค้ายังมีเรื่องที่ต้องทดสอบอีกมาก และก็ไม่มีใครสนใจความสวยงามของเว็บท่านมากนัก เพราะเขามาซื้อสินค้าไม่ใช้มาซื้อเว็บของท่าน อย่าลืม "เรียบง่าย ดูดี น่าเชื่อถือ" เป็นสำคัญ
ขอบคุณข้อมูลจาก :